แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
O3 อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษามีพันธกิจหน้าที่ ดังนี้
มาตรา 39 สถานศึกษาและส่วนราชการตามมาตรา 34 (2) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาและส่วนราชการ
(2) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ
(3) เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทำนิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษา หรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการได้รับ ตามที่ได้รับมอบหมาย
(4) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
(5) อำนาจหน้าที่ในการอนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
(6) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งงานอื่นที่กระทรวงมอบหมาย
นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์ (Vision)
“โรงเรียนบ้านห้วยพอด เป็นโรงเรียนคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ชุมชน เครือข่าย ร่วมมือพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
เชิดชูคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ (Mission)
1. ส่งเสริมและพัฒนาเด็กระดับการศึกษาปฐมวัย ให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้านตามวัย
2. จัดการศึกษาที่สนองความต้องการของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก และการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
3. ปลูกฝังให้เด็กและผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีและค่านิยมอันดีงามของไทย
4. เสริมสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำรงตนตามหลักวิถีไทยและระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. ส่งเสริมและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นครูมืออาชีพ
6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษา สร้างภาคีเครือข่ายระหว่างโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
7. จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ (Objective)
1. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเอง มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้
2. สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
3. ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
4. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จัดบรรยากาศและสังคมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์และการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
5. จัดให้มีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และการจัดการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และเพียงพอ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยจัดให้มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
6. สนับสนุนให้ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข
7. ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
8. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลก
เปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาได้ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
9. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจสังคม มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความ
แตกต่างและหลากหลาย มีความถนัด มีทักษะ ความสามารถพิเศษในการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับและได้รับการยอมรับยกย่องในความสามารถด้านต่าง ๆ
10. สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้น
คุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
11. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
ได้ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
12. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
13. สนับสนุนให้ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน แลกเปลี่ยน
เรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
14. ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา เด็กและผู้เรียนมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
ภารกิจบทบาทอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาฯ พ.ศ. 2547
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขอบข่ายภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา